วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

การออกแบบวงจรโดยใช้โปรแกรม Opensource ตอนที่ 1/3

หลังจากที่ได้ทดลอง KiCad ทำงานง่าย ๆ แล้ว ก็ถึงเวลาทดลองใช้ KiCad แบบจริงจัง คือมีชิ้นงานเป็นผลลัพธ์สุดท้ายได้ ความตั้งใจก็คือใช้ Opensouce โปรแกรม ในการออกแบบตั้งแต่ ลายวงจร (Schematic) จำลองวงจร (Simulation) ออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ และประกอบวงจรจริง ๆ โดยตั้งใจว่าจะแบ่งทำเป็น 3 ตอนคือ

วาดลายวงจร โดยใช้ KiCad และจำลองวงจรโดยใช้ gnucap ร่วมกับ gspiceui
วงจรที่เลือกคือวงจรขยายเสียงคลาสเอบีขนาด 0.5 วัตต์ ไม่ใช้ออปแอมป์หรือไอซีขยายเสียงสำเร็จรูป ออกแบบตามตำราเป๊ะ ๆ ไม่พลิกแพลงใด ๆ วงจรแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อยซึ่งคนที่ผ่านวิชาอิเล็กทรอนิกส์น่าจะสังเกตได้ คือ
  1. วงจรขยายแรงดันแบบอิมิตเตอร์ร่วม
  2. วงจรกันชน (Buffer)
  3. วงจรขยายกำลังคลาสเอบี
ใช้ KiCad วาดลายวงจร โดยความตั้งใจแรกตอนที่วาดลายวงจรคือเพื่อสร้างแผ่นวงจร ลายวงจรจึงประกอบด้วยขั้วต่อสาย 3 จุด คือ ขั้วสัญญาณขาเข้า ขั้วสัญญาณขาออก และขั้วไฟเลี้ยง ดังรูป
เมื่อได้ลายวงจรแล้ว เราจะให้ KiCad สร้าง Netlist สำหรับ gnucap ให้เราได้ ผลที่ได้จะเป็นแฟ้มข้อความนามสกุล CIR ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
* EESchema Netlist Version 1.1 (Spice format) creation date: อา. 25 เม.ย. 2553, 18:45:25


C1  14 3 1u
P4  0 CONN_1
P3  5 CONN_1
P1  14 0 CONN_2
C2  13 0 470u
R2  3 0 42k
R1  5 3 79k
R5  13 0 39
R3  5 12 430
Q1  4 3 12 2N3904
RV1  10 10 9 100
R4  4 13 82
Q2  11 12 5 2N3904
R6  8 0 220
D2  9 8 1N4148
D1  11 10 1N4148
C3  6 7 470u
P2  7 0 CONN_2
R8  6 15 1
R7  2 6 1
Q4  15 8 0 2N2907
Q3  2 11 5 2N2222

.end
จากแฟ้มนี้ เราพบว่าต้องแก้ไขเพื่อให้จำลองวงจรใน gnucap ได้ 3 - 4 จุดด้วยกันคือ
  1. ขั้วต่อสัญญาณ Px ต่าง ๆ ไม่ต้องใช้ ก็ลบออก
  2. การเรียงลำดับของขาทรานซิสเตอร์ใน KiCad กับ gnucap ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ใน KiCad จะเรียงลำดับเป็น E-B-C ในขณะที่ gnucap ต้องการให้เรียงลำดับเป็น C-B-E ก็แก้ไขลำดับของขาให้ถูกต้อง
  3. มีอุปกรณ์ตัวหนึ่งคือตัวต้านทานปรับค่าได้ ที่ gnucap ยังจำลองไม่ได้ ก็แก้ไขให้เป็นตัวต้านทานแทน ไม่ต้องปรับค่า
  4. อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ยังไม่มีโมเดล (.model) ในโปรแกรม gnucap นี้เราสามารถใช้โมเดลของ Spice ซึ่งหาได้จากบริษัทผู้ผลิตทั่วไปได้ทันที แต่โมเดลเหล่านี้ไม่ใช่ Opensource ผมจึงนำมาพิมพ์ไว้ตรงนี้ไม่ได้ หากใครสนใจให้ลองเข้าไปหาจากดาตาชีทของบริษัท หรือจากเว็บก็ได้ เมื่อโหลดมาแล้วก็เติมเข้าไปท้ายแฟ้ม ก่อน .end
  5. ไม่ได้กำหนดตำแหน่งไฟเลี้ยง และสัญญาณขาเข้า ก็ให้เพิ่ม VSupply กับ Vin เข้าไป ตามไวยกรณ์ของ gnucap
จะได้
* EESchema Netlist Version 1.1 (Spice format) creation date: อา. 25 เม.ย. 2553, 18:45:25


C1  14 3 1u
P4  0 CONN_1
P3  5 CONN_1
P1  14 0 CONN_2

C2  13 0 470u
R2  3 0 42k
R1  5 3 79k
R5  13 0 39
R3  5 12 430
Q1  12 3 4 2N3904
RV1  10 10 9 100
RV1 10 9 50
R4  4 13 82
Q2  5 12 11 2N3904
R6  8 0 220
D2  9 8 1N4148
D1  11 10 1N4148
C3  6 7 470u
P2  7 0 CONN_2
R8  6 15 1
R7  2 6 1
Q4  0 8 15 2N2907
Q3  5 11 2 2N2222

VSupply 5 0 12
Vin 14 0 GENERATOR

.model 1N4148 D (Is=5.84n...)*
.model 2N3904 NPN (Is=6.734f...)*
.model 2N2222 NPN (is=19f...)*
.model 2N2907 PNP (is=1.1P...)*

.end
โมเดลที่ดอกจัน (*) ไว้ หมายความว่าจะต้องไปโหลดมาจากเว็บของผู้ผลิตเอง ซึ่งจะมีพารามิเตอร์ให้ครบสำหรับ Spice ในกรณีของเราซึ่งใช้ gnucap นี้ เมื่อรันโปรแกรมซิมูเลชั่นแล้วจะเกิด Error ขึ้นเนื่องจาก gnucap ไม่รู้จักพารามิเตอร์บางตัว ให้ลบพารามิเตอร์ตัวนั้นทิ้งได้ (อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถรับรองผลการทดลองได้)
เมื่อเตรียมแฟ้มเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเลือกใช้ gnucap แบบบรรทัดคำสั่งก็ได้ หรือจะใช้ gspiceui เพื่อใช้ gnucap แบบ GUI ก็ได้ ในกรณีนี้เราเลือกใช้ gspiceui ซึ่งเรียกจากบรรทัดคำสั่งโดย
> gspiceui &
จะได้

หลักการของ gspiceui ก็คือเราจะต้อง "สร้าง" (Create) การซิมูเลชั่นขึ้นมาเสียก่อน แล้วจึงจะ "รัน" (Run) ซิมูเลชั่นนั้น ๆ ได้ การ "สร้าง" ซิมูลเลชั่นก็คือการตั้งค่าต่าง ๆ ของการซิมูเลชั่น นั่นเอง เช่นการกำหนดประเภทของการซิมูเลชั่น (.op .dc .ac) การกำหนดโหนด (Node) ที่ต้องการสังเกต การกำหนดประเภทของตัวแปรที่ต้องการสังเกต (แรงดัน กระแส กำลัง ค่าความต้านทาน) ส่วนการ "รัน" ซิมูเลชั่นก็คือการสั่งให้ gnucap ทำตามที่สั่ง

เมื่อทดลองใช้ดูพบว่าข้อความในแท็บ Netlist ไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วนข้อความในแท็บ Simulation สามารถแก้ไขได้ นั่นหมายความว่าเราสามารถตกแต่งแก้ไขคำสั่งการซิมูเลชั่นที่ gspiceui ตั้งให้เราได้ ซึ่งมีจุดหนึ่งที่ต้องแก้ไขด้วยตนเองแน่ ๆ ก็คือ หากต้องการซิมูเลตแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ .op จะต้องสั่ง .op ก่อนเสมอ ไม่เช่นนั้นจะได้ผลเสมือนว่าวงจรไม่ได้รับไฟเลี้ยง

เมื่อทดลองซิมูเลตแบบ Transient (.tr) gspiceui จะอำนวยความสะดวกในการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เรา ที่ได้ทดลองคือ
  • ตั้งค่า Vin เป็น 0.5 V ความถี่ 1 kHz (ลอง 1.0 V แล้ว สัญญาณเพี้ยน)
  • Start Time = 0 ms
  • Stop Time = 10 ms
  • Step Time = 10us 
ผลการทดลองเป็นดังนี้

หลังจากลองผิดลองถูกมานาน ผัดวันประกันพรุ่งมาหลายหน ก็ทำได้เสียที ขั้นตอนต่อไปก็จะลองใช้ KiCad ออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์สำหรับวงจรนี้

ไม่มีความคิดเห็น: